อารยแคมป์
4 โพสต์
สิ่งสำคัญเห็นได้ด้วยใจ เปิดค่ายอารยแคมป์ เปิดใจเรียนรู้ เดินให้เห็นกับตา ดมให้ถึงกลิ่น ชิมให้ถึงรส สัมผัสให้รู้สึก และพูดคุยในวิถีกับผู้คนที่ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เพื่อได้เข้าไปถึง “ใจ” “ไม่เคยได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่เคยได้ตั้งใจฟังเสียงธรรมชาติ พึ่งรู้ว่าเราก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แล้วเราจะอยู่ร่วมได้อย่างไร และจะรักษาอย่างไร” เสียงสะท้อนจากผู้เข้าอบรมวันที่หนึ่ง (หลักสูตร 7 วัน) เมื่อวันที่ วันที่ 3 ก.พ. 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา วันแรกที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้หลักคิด หลักทำ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกิจกรรมเดินเรียนรู้เส้นทางในพื้นที่ของศูนย์ ดิน น้ำ ป่า คน เส้นทางการเรียนรู้ที่ชวนให้มองเห็นพลังชีวิตในดิน คุณค่าของผืนป่า ที่สร้างแหล่งอาหารและกักเก็บน้ำ ชวนพูดคุยกับชาวพรรณา ผู้พึ่งพาตนเองและย้อนกลับไปสู่วิถีดั้งเดิมเพื่ออยู่อย่างยั่งยืน และชวนลงมือจัดการกับวิกฤตของโลกที่ฐานขยะ โดยทั้งหมดนี้เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าทุกสิ่งสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว ไม่แยกจากกัน
เล่าเรื่อง
สร้างพลังกาย ใจ ปัญญา เพื่อการพึ่งพาตนเอง “เมื่อไหร่ที่เจอความลำบากก็คือได้เจอกุศลธรรม เจอความเจริญ แล้วเมื่อไหร่ที่เราปรนเปรอตนเองมากเกินไป ก็จะเจอแต่อกุศลธรรม ขอให้เราตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อการฝึกตน” คุณพรรณราย พหลโยธิน ผู้อำนวยการโครงการหมู่บ้านอารยธาม กล่าวเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 เรียนรู้ภาคปฏิบัติเพื่อการพึ่งพาตนเอง ที่เริ่มตั้งแต่เช้าจรดเย็นด้วยการใช้พลังกาย ใจ ปัญญา ผ่านฐานปฏิบัติการต่างๆ โดยมีทีมอาสาพึ่งตนเพื่อชาติเป็นกำลังหลักร่วมกับครูพาทำในฐานปฏิบัติการ ดิน น้ำ ป่า และคนที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลึกซึ้งขึ้น “เดี๋ยวฝนก็มา เดี๋ยวปลาก็มี เดี๋ยวข้าวก็งอกงาม เมื่อเรามีพอ คนก็มีน้ำใจแก่กัน” เสียงสะท้อนจากผู้เข้าอบรม หลังจากที่ได้ผ่านฐานกิจกรรมในวันนี้ สะท้อนภาพเมืองไทยที่อุดมสมบูรณ์หากเราช่วยกันรักษาดิน น้ำ ป่า และรักษาน้ำใจอันดีงามของคนไทยไว้
เล่าเรื่อง
รู้อะไรไม่สู้ รู้รักสามัคคี สามัคคีคือพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย เมื่อมีวิฤต ก็ไม่มีอะไรเท่าสำคัญเท่าความสามัคคี วันที่สามของการอบรม (5 ก.พ. 2568) ฝึกฝนการทำงานกลุ่มร่วมกันทั้งในภาคสนามบนโคกและภาคทฤษฎีการออกแบบบนดิน เมื่อเรียนรู้วิชาพื้นฐานแล้วจึงเริ่มลงมือปฏิบัติในสนามจำลองที่ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณาจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งการลงแรงกายสร้างป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง ป่าห้าระดับ ให้เกิดฐาน 4 พอ จากนั้นไปลงแรงคิด เรียนรู้วิชาออกแบบพื้นที่เพื่อสามารถนำกลับไปใช้ในพื้นที่จริงของแต่ละคนได้ แล้วสลับมาพัฒนาใจ ด้วยการผ่านวิกฤตเพื่อการอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นฐานคิด ฝึกทักษะวิชา และความสามัคคีในหมู่กลุ่มให้กับผู้เข้าอบรมทุกคน ก่อนออกเดินทางไปสู่สนามจริง เรียนรู้การเข้าชุมชนในวันถัดไป
เล่าเรื่อง