เมื่อต้องเดินทางทำงานยาวนาน สิ่งที่เหมาะสมสำหรับวิถีของเราคือการ “หมักดอง” ที่นอกจากงานแล้วก็ยังมีอย่างอื่นให้หมักดองได้อีก ดองแล้วออกเดินทาง กลับมา 10 วัน 15 วันใช้ได้เฉย ไม่ต้องคอยเฝ้ามองทุกว๊านน ทุกวัน
คร้ังนี้ ไปเปิดดูโหลดอง “มะเฟือง” จากพรรณา ที่ขโมยเก็บจากศูนย์มาในการอบรมวันสุดท้ายของพึ่งตน 10 รุ่นแรก ได้เห็นชั้นวุ้นที่พี่เขียวให้มาตั้งแต่โดน (ภาษาอีสานแปลว่านานแว้ววว) วุ้นนั้นได้เติบใหญ่กลายเป็นวุ้นหนุ่มสามชั้น อย่ากระนั้นเลย เรามีชากุหลาบที่ได้มาจากภูเก็ต อย่างหอม ลองมาหมักคอมบูฉะดูดีกว่า
พอได้เวลาไปเจอกระเจี๊ยบที่บ้านหมอยาจีน แม่คุณนอร์ท คุณไนท์ เลยซื้อมาด้วย กะว่า จะได้ลองทำ “คอมบูฉะ” โหลแรก
ผ่านไปเนิ่นนานนนนนน ได้ทดลองทำ
วันนี้กะว่าจะมาโพสท์ลงเป็นปฐมฤกษ์ในอารยธาม เลยเข้าไปหาวิธีการนำคอมบูฉะที่ได้มาผสมน้ำกระเจี๊ยบกะว่าจะโชว์เหนือ
เอ๊ะ เอ๊ะ …. “เมื่อชาเย็นลงแล้ว ก็ใส่หัวเชื้อและสโคบี้ลงไปในโหลหมัก (อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนนะคะ) เสร็จแล้วปิดปากโหลด้วยผ้า มัดให้แน่นด้วยเชือกเพื่อป้องกันแมลงและฝุ่นผง หมักชาทิ้งไว้ 7-12 วันในอุณหภูมิห้อง การหมักคอมบูชาเราจะไม่ปิดฝาโหลนะคะ เพราะว่าการหมักขั้นแรกหรือการหมัก F1 เป็นการหมักที่ต้องใช้อากาศจากนอกโหลค่ะ”
อันนี้คืออะรายค๊าาาาา ….
ดิฉันปิดฝามาตลอดเลยค่า ….
เอาน่า ทำใจยังไงก็ลองเปิดดมกลิ่นดู ยังไม่เหม็นเอาเป็นว่าใช้ได้ (คิดเอง เออเองอีกแระ)
ติ๊ต่างว่า วันนี้คือวันที่หนึ่ง เริ่มนับใหม่ เปิดฝาเอาผ้าปิด ไม่มีเชือกใช้หนังยางง่ายๆ เลย
ได้มาแบบนี้้ อีก 10 กว่าวัน หลังกลับจาก CMS มาดูกันใหม่นะน้องๆ
มือใหม่หัดคอม (บูฉะ)
ความคิดเห็น
×